Money Management หรือ ที่เราเรียกติดปากกันว่า MM จริงๆ แล้วมันคืออะไร สำคัญต่อการเทรดอย่างไง ตอนที่ผมเข้าตลาดมาได้สักพัก ผมเคยได้ยินว่า ในการอยู่รอดในตลาดต้องประกอบไปด้วย 3 เสาหลักถึงทำให้อยู่รอดได้ คือ ความรู้ ในที่นี้หมายถึงทั้งทางเทคนิคและพื้นฐาน อย่างที่สอง การบริหารเงินหน้าตัก และอย่างสุดท้ายคือใจ โดยสัดส่วนหรือความสำคัญของทั้งสามเสานี้ก็ไม่เท่ากันด้วย โดยขอเริ่้มที่เสาต้นแรกก่อน คือ
-ความรู้ มีความสำคัญกับการอยู่รอดแค่ 10% เท่านั้นเอง
ตอนแรกที่ได้ฟัง เถียงหัวชนฝาเลยว่าเป็นไปไม่ได้ เมื่อเรามีความรู้มีจังหว่ะการเข้าที่ดี ออกที่ดี ก็น่าจะทำให้เราเทพละหนิ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะเรียนรู้และเข้าใจเองว่า เออ มันจริง นะ ความรู้ของคุณมันไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น
-เสาต้นที่สอง MM มีความสำคัญต่อการอยู่รอดถึง 30%
การบริหารเงินหน้าตักสำคัญขนาดนั้นเลยเหรอ ดีนะที่เรามี (ตอนนั้น MM มีแค่ ถ้าหุ้นเราตกเกิน 5% ต้องรีบขายนะ คือ เป็น MM เด็กอนุบาลมากแต่ก็ยังดีที่ตอนนั้นมีแล้ว) สบายละเรา อยู่รอดแน่ แต่แบบล่อแล่
-เสาต้นสุดท้าย คือ ใจ มีสัดส่วนถึง 60%
แต่วันนี้เราจะไม่พูดถึงเรื่องนี้กันเพราะ มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกิน ทั้งตัวผู้พูดเองก็ยังเข้าไม่ถึงขนาดนั้น
เราพูดถึงเสาสามต้นที่จำเป็นต่อการเทรดแล้ว เราต้องเข้าใจอย่างนึงว่า การลงทุนในตลาดหุ้น แบ่งสายหลักๆแบ่งเป็นสองสาย (หลักๆ) ได้แก่
1 สายพื้นฐาน ดูงบ ผลประกอบการ ดูอนาคตของกิจการ ผมจะไม่พูดถึง
2 สายเทคนิค พวกดูกราฟ ดูราคาทั้งหลาย อันนี้แหละที่ผมสนใจจะมาพูดกันว่า MM จำเป็นอย่างไร
เราต้องเข้าใจกันอย่างนึงก่อนว่า สายเทคนิค ทุกๆอย่างที่เราเรียนมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น indycator ที่เทพขนาดไหน แท่งเทียนที่ทรงพลัง หรือเทคนิค vol ในตำนาน หัวใจของมัน คือ
"เราทำกำไรอยู่บนความน่าจะเป็น"
โดยใช้ข้อมูลทางสถิติ ดังนั้น แม้เราจะทำถูกผลลัพธ์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่เป็นไปตามที่คิดได้ ต้องท่องเอาไว้ว่ามันคือความน่าจะเป็น
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีหลายๆเหตุการณ์ในชีวิตเราที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของความน่าจะเป็น เช่น การยื่นข้อเสนอทางธุรกิจ หรือ การตอบคำถามในขณะสัมภาษณ์ สิ่งที่เราควบคุมได้ คือ การเตรียมตัว ไม่ใช่ผลลัพธ์ เราเตรียมตัวให้ดีที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสที่เราจะได้รับผลลัพธ์นั้น จริงหรือไม่จริง ลองคิดดูดีๆ ก่อนที่เรื่องความน่าจะเป็นจะยาวไปมากกว่านี้ ขอสรุปเลยว่า
แม้เราจะมีวิธีการเทรดที่ดีแค่ไหนก็ตาม มันก็แค่เพิ่มความน่าจะเป็นในการชนะให้เราเท่านั้นเอง
It is Game.
ผมกำลังจะบอกว่า สำหรับผมการเทรด คือ เกม เกมๆนึงที่ต้องเล่นกันยาวๆ และเป็นเกมที่แฟร์มากด้วย เพราะมันไม่จำกัดว่าคุณต้องใช้วิธีไหน อยากเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ ขอแค่ตอนสุดท้ายอยู่ให้รอดก็พอ ดังนั้นความเชื่อหรือจะเรียกว่า ศรัทธา ในการอยู่ในตลาดของผม มีเพียงอย่างเดียว คือ อยู่ให้รอด มันไม่มีประโยชน์เลยที่ได้กำไรมากมายจากตลาดแล้วสุดท้ายต้องคืนกลับไปหมด
ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดได้ ผมคิดว่า MM คือคำตอบนะ ตอนนี้ผ่านมาครึ่งปีพอตผมบวกอยู่ 100% กว่าๆ มีคนถามว่าทำอย่างไร มีเทคนิคอะไร ผมตอบไปด้วยความจริงใจมากๆว่า แค่โชคดี สิ่งที่ทำให้พอตมีกำไรมากๆ สำหรับผม แค่โชคดีจริงๆ ผมรู้ไม่ต่างจากทุกคนในตลาด แต่สิ่งที่ทำให้รอดมาได้ในสภาวะตลาดแบบนี้ คือ ผมมีวินัยในการใช้ MM
MM แบบบ้านๆ
หลังจากที่ผมศึกษาเรื่อง MM มาระยะนึงต้องบอกก่อนว่ามีหลายแบบมากทั้งแบบง่ายทั้งแบบยากที่จะยกตัวอย่างในวันนี้ผมก็จำชื่อไม่ได้ว่าเขาเรียกว่าอะไร เพียงแต่มีโอกาสได้หยิบยืมมาใช้แล้วเห็นว่าคล่องมือ และทรงพลังดี เลยจะมา บอกต่อๆกัน
อย่างแรกผมต้องดูฐานของพอตก่อนว่ามีขนาดเท่าไร เปรียบเสมือนแม่ทัพตรวจตรากำลังพล
อย่างที่สอง เอาไปเสี่ยงเท่าไรดี โดยปกติผมจะใช้ 2-5% ของพอต ไม่ค่อยเกินนี้ในแต่ละครั้ง ยิ่งพอตใหญ่ยิ่งใช้น้อย
อย่างที่สามหาหุ้นที่ต้องการจะเข้า แล้ววางจุด STOP LOSS
อย่างสุดท้ายหา Position sizing ว่าควรเอาไปเสี่ยงเท่าไร เปรียบเหมือนการวิเคราะห์ของแม่ทัพว่าจะยกไปบุกข้าศึกเท่าไรดี ยกไปตีเขามากเดี๊ยวเมืองหลวงก็ไปปลอดภัย ยกไปน้อยก็ตีไม่สำเร็จ
ต่อไปขอยกตัวอย่างการใช้ MM นะครับ
สมมติผมมีพอตขนาด 100,000 บาท
Step 1 หาขนาดของพอต คือ 100,000 บาท
Step 2 หาความเสี่ยงที่รับได้แบบสบายใจ (อันนี้เอาที่สบายใจ) สำหรับผมใช้ 4% เพราะเวลาไปกินข้าวกะสาวทีนึงก็ประมาณ 1,000 นึง เท่ากับการอดไปกินข้าวกะสาว 4 ครั้งเอง
4% ของ 100,000 = 100,000 x 0.04 = 4,000 บาท คือควาเสี่ยงที่เรารับได้ (ทั้งพอตนะ)
Step 3.1 สมมติ ซื้อ หุ้นตัวเดียว คือ หุ้น A ที่ราคา 5 บาท แล้วเห็นว่า 4.50 เป็นจุดที่มีนัยสำคัญ (สมมตินะ) เลยวาง stop loss ไว้ตรงนี้
เราสามารถหา Position sizing ได้จากตรงนี้เลย คือ
ความเสี่ยงของหุ้นตัวนี้ = ราคาซื้อ - ราคาขายขาดทุน = 5.00 - 4.50 = 0.50 ต่อหุ้น
เรารับความเสี่ยงต่อพอตได้ 4,000
ดังนั้นเราซื้อหุ้นได้ = ความเสี่ยงของพอต/ความเสี่ยงต่อหุ้น = 4,000/0.50 = 8,000 หุ้น
ใช้เงินทั้งหมด 8,000 x 5.00 = 40,000 บาท
เงินเหลือทำไง ... ตอบ ใจเย็นๆรอให้หุ้นขึ้นก่อนแล้วเราก็ขยับ stop loss ตามขึ้นไป ถ้า stop loss ขยับถึงทุน หมายความว่าเราขายได้ไม่ขาดทุนแล้วใช่ไหม ก็แสดงว่าเราได้ความเสี่ยงของพอตเราคืน 4,000 เราก็เอาไอ้ 4,000 ไปหาหุ้นซื้อใหม่ แค่นั้นเอง
สมมติต่อว่า ถ้า stop loss ยังไม่ขยับถึงทุนแต่ขยับขึ้นสูงกว่าเดิมแล้ว เช่น ขยับมาอยู่ที่ 4.75 แทนที่จะเป็น 4.50 แสดงว่าถ้าเราขาดทุนกับหุ้นตัวนี้เท่าก็ขาดได้เท่ากับ (5.00 - 4.75) x 8,000 = 2,000 บาท
ดังนั้นแปลว่าความเสี่ยงของพอตเราได้คืนมา 2,000 บาท เราเอาไอ้นี่ไปหาหุ้นซื้อต่อได้ แต่ตอนคิดความเสี่ยงของพอตต้องใช้ 2,000 คิดนะห้ามใช้ 4,000 เด็ดขาด (ก็เราได้ความเสี่ยงคืนมา 2พัน ไม่ใช่ 4พัน นี่คับ)
3.2 สมมติ เจอหุ้น เด็ด พร้อมกัน 2 ตัวจะทำไงดี คือ A ที่ราคา 5.00 บาท cutloss 4.50 บาท และ หุ้น B ราคา 2.00 บาท cutloss 1.90 บาท
กรณีนี้คิดก่อนเลยว่า จะแบ่งความเสี่ยงของพอตไปให้ A เท่าไร B เท่าไร ง่ายๆ คือ แบ่งเท่ากัน ได้ความเสี่ยงมาจากพอต 4,000 ให้ A 2,000 และ B 2,000
หา Position sizing ของ A risk = 5.00 - 4.50 = 0.50
Position sizing of A = ความเสี่ยงที่ได้รับ / ความเสี่ยงต่อหุ้น = 2,000/0.50 = 4,000 หุ้น
หา Position sizing B risk = 2.00 - 1.90 = 0.10
Position sizing of B = ความเสี่ยงที่ได้รับ / ความเสี่ยงต่อหุ้น = 2,000/0.10 = 20,000 หุ้น
สรุปใช้เงินไปทั้งสิ้ง (4,000 x 5.00) + (20,000 x 2 ) = 20,000 + 80,000 = 100,000
เห็นได้ว่าการใช้เงินแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วิธีนี้จะทำให้เราลงทุนในเกมที่เสี่ยงน้อย และลงทุนในเกมที่มีโอกาสชนะมากโดยไม่ใช้ความลำเอียง
เห็นไหมครับไม่ยากเลย
หลายคนยังบอกว่า โอ๊ย ยาก ใช้แบบเดิมดีอยู่แล้ว ง่ายดีออก
ผมก็คงต้องตอบเขาไปว่า เอาที่สบายใจเลยครับ
ถ้ายังคงเล่นแบบมือสมัครเล่นก็เป็นได้แค่มือสมัครเล่น
ถ้าอยากเป็นมืออาชีพก็ต้องรู้จักใช้วิธีของมืออาชีพได้แล้วครับ
แล้วอีกอย่าง ขอบคุณนะครับที่เป็นมือสมัครเล่นให้ไม่งั้นตลาดเล่นยากกว่านี้ผมจะลำบากเอา
ปล. เคยได้ยินใครบ่นไม่รู้ว่า อยู่อย่างหมา ก็เป็นได้แค่หมา ถ้าวันนี้รู้ตัวว่าเป็นหมา ต้องเปลี่ยนที่ความคิดก่อน ต้องคิดอย่างสิง กินอย่างสิง แล้วอยู่อย่างสิง ถ้าความเชื่อมั่นคง หมาก็เป็นสิงได้
อย่าด่าผมนะผมจำมาเฉยๆ
เรารับความเสี่ยงต่อพอตได้ 4,000
ดังนั้นเราซื้อหุ้นได้ = ความเสี่ยงของพอต/ความเสี่ยงต่อหุ้น = 4,000/0.50 = 8,000 หุ้น
ใช้เงินทั้งหมด 8,000 x 5.00 = 40,000 บาท
เงินเหลือทำไง ... ตอบ ใจเย็นๆรอให้หุ้นขึ้นก่อนแล้วเราก็ขยับ stop loss ตามขึ้นไป ถ้า stop loss ขยับถึงทุน หมายความว่าเราขายได้ไม่ขาดทุนแล้วใช่ไหม ก็แสดงว่าเราได้ความเสี่ยงของพอตเราคืน 4,000 เราก็เอาไอ้ 4,000 ไปหาหุ้นซื้อใหม่ แค่นั้นเอง
สมมติต่อว่า ถ้า stop loss ยังไม่ขยับถึงทุนแต่ขยับขึ้นสูงกว่าเดิมแล้ว เช่น ขยับมาอยู่ที่ 4.75 แทนที่จะเป็น 4.50 แสดงว่าถ้าเราขาดทุนกับหุ้นตัวนี้เท่าก็ขาดได้เท่ากับ (5.00 - 4.75) x 8,000 = 2,000 บาท
ดังนั้นแปลว่าความเสี่ยงของพอตเราได้คืนมา 2,000 บาท เราเอาไอ้นี่ไปหาหุ้นซื้อต่อได้ แต่ตอนคิดความเสี่ยงของพอตต้องใช้ 2,000 คิดนะห้ามใช้ 4,000 เด็ดขาด (ก็เราได้ความเสี่ยงคืนมา 2พัน ไม่ใช่ 4พัน นี่คับ)
3.2 สมมติ เจอหุ้น เด็ด พร้อมกัน 2 ตัวจะทำไงดี คือ A ที่ราคา 5.00 บาท cutloss 4.50 บาท และ หุ้น B ราคา 2.00 บาท cutloss 1.90 บาท
กรณีนี้คิดก่อนเลยว่า จะแบ่งความเสี่ยงของพอตไปให้ A เท่าไร B เท่าไร ง่ายๆ คือ แบ่งเท่ากัน ได้ความเสี่ยงมาจากพอต 4,000 ให้ A 2,000 และ B 2,000
หา Position sizing ของ A risk = 5.00 - 4.50 = 0.50
Position sizing of A = ความเสี่ยงที่ได้รับ / ความเสี่ยงต่อหุ้น = 2,000/0.50 = 4,000 หุ้น
หา Position sizing B risk = 2.00 - 1.90 = 0.10
Position sizing of B = ความเสี่ยงที่ได้รับ / ความเสี่ยงต่อหุ้น = 2,000/0.10 = 20,000 หุ้น
สรุปใช้เงินไปทั้งสิ้ง (4,000 x 5.00) + (20,000 x 2 ) = 20,000 + 80,000 = 100,000
เห็นได้ว่าการใช้เงินแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วิธีนี้จะทำให้เราลงทุนในเกมที่เสี่ยงน้อย และลงทุนในเกมที่มีโอกาสชนะมากโดยไม่ใช้ความลำเอียง
เห็นไหมครับไม่ยากเลย
หลายคนยังบอกว่า โอ๊ย ยาก ใช้แบบเดิมดีอยู่แล้ว ง่ายดีออก
ผมก็คงต้องตอบเขาไปว่า เอาที่สบายใจเลยครับ
ถ้ายังคงเล่นแบบมือสมัครเล่นก็เป็นได้แค่มือสมัครเล่น
ถ้าอยากเป็นมืออาชีพก็ต้องรู้จักใช้วิธีของมืออาชีพได้แล้วครับ
แล้วอีกอย่าง ขอบคุณนะครับที่เป็นมือสมัครเล่นให้ไม่งั้นตลาดเล่นยากกว่านี้ผมจะลำบากเอา
ปล. เคยได้ยินใครบ่นไม่รู้ว่า อยู่อย่างหมา ก็เป็นได้แค่หมา ถ้าวันนี้รู้ตัวว่าเป็นหมา ต้องเปลี่ยนที่ความคิดก่อน ต้องคิดอย่างสิง กินอย่างสิง แล้วอยู่อย่างสิง ถ้าความเชื่อมั่นคง หมาก็เป็นสิงได้
อย่าด่าผมนะผมจำมาเฉยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น