วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

trading in the zone chapter 1

จันทร์ที่ 26 ต.ค. 2558

วันนี้คะแนนออกตอนแรกได้ 34/50 ดีนะที่อาจารย์ให้ข้อสอบคืนเลยรู้ว่าข้อ 1 อาจารย์ลืมดูไปตอนหนึ่ง (เขียนไม่ดีเอง) เลยได้เพิ่มมา 3 คะแนน เป็น 37/50 ถือว่าพอใจ สูงกว่าที่คิดนิดหน่อย ถ้าไปป่วยน่าได้ถึง 40 ไม่น่าพลาดอะไรโง่ๆ ที่น่าสนใจคือ เพื่อนที่เรียนด้วยกันได้ 24 กับ 26 ส่วนรุ่นพี่ได้ 45 โหดมาก จะตามทันไหม ข้อดีของการผ่านอะไรมาหลายๆอย่างมันทำให้เราวางเรื่องที่โดนปะทะได้เร็ว เจอกันไฟนอลที่พร้อมกว่านี้

วันนี้หงุดหงิดเรื่อง คปก. นิดหน่อย ตั้งชื่อ thesis ไม่ถามคนอื่นเลย

วันนี้มีโอกาส (โดนใช้) ให้ช่วยลงโปรแกรมให้น้อง เลยมีโอกาสได้คุยมันมีคำถามๆหนึ่งที่น้องถามแล้วมันสะเทือนใจ จนต้องเข้าไปเขียนที่ storylog เข้าไปอ่านได้..

เข้าเรื่องดีกว่า trading in the zone chapter 1

ก่อนเล่าอะไรขอบอกอะไรไว้อย่างหนึ่งว่า ผู้เขียน เขียนขึ้นมาเราเรียกว่าความรู้มือหนึ่ง หรือความรู้ต้นน้ำ คนอ่านคือความรู้มือสอง เป็นความรู้กลางน้ำ ส่วนการอ่านถัดจากคนอ่านอีกทีเป็นความรู้ปลายน้ำแล้ว ดังนั้นความแน่นของความรู้และประโยชน์ดีๆก็อาจจะซึมหายไปได้หลายส่วน ...

เมื่อก่อนนักลงทุนใช้เพียงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานวิเคราะห์เพื่อลงทุน กลุ่มคนที่ใช้ปัจจัยทางเทคนิคถูกหาว่าเป็นพวกบ้าบอ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานคือการดูปัจจัยของตัวแปรต่างๆที่พยามจะส่งผลถึงอุปสงค์และอุปทานของสินค้าตัวนั้นโดยไม่ได้คำนึงถึงตัวนักลงทุนคืนอื่นๆ ซึ่งปัจจัยทางเทคนิคเราสร้างขึ้มมาเพื่อดูตรงนั้น ดูว่านักลงทุนคนอื่นๆคิดอย่างไรกับตลาดตอนนั้น การใช้ปัจจัยทางเทคนิคสามารถใช้งานได้รวมเร็วและง่ายกว่าเพื่อหาจังหวะต่างๆ จนในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราแทบทุกคนใช้ปัจจัยทางเทคนิคไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แทบจะไม่มีเทรดเดอร์คนไหนใช้ปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียวแล้วอาจจะมีก็น้อยจริงๆ สุดท้ายการวิเคราะห์วิเคราะห์ทางเทคนิคถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาข้อสำคัญของการวิเคราะห์ทางพื้นฐาน คือ ช่องว่างของความเป็นจริงและสิ่งที่เป็น แต่ปัจจัยทางเทคนนิคก็มีข้อเสีย คือ ช่องว่างทางจิตวิทยา มันคือความแตกต่างระพหว่างการคาดเดาว่าจะเกิดอะไรกับตลาดกับเข้าไปเทรดจริง ทำไมบางครั้งเราไม่กล้า สิ่งนี้ คือ ช่องว่างทางจิตวิทยา ส่งผลให้การเทรดเป็นงานที่ยากที่สุดงานหนึ่งของโลก ในเมื่อยากจึงต้องมีคนเข้ามาเป็นผู้เชี่ยญชาญ

หนึังสือเล่มนี้ถามคำถามง่ายๆแค่ "เราสามารถเชี่ยวชาญในการเทรดได้จริงเหรอไม่" "สามารถเทรดด้วยความเรียบง่ายเหมือนกับตอนเฝ้ามองตลาดและคิดถึงความสำเร็จไหม" หนังสือ เฉลยว่า ได้ อย่างไม่มีข้อสงสัย ดังนั้นในหนังสือแบ่งเทรดเดอร์เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1 เทรดเดอร์ทั่วไป 2 เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ ข้อแตกต่างสำหรับสองกลุ่มนี้ คือ กลุ่มที่สองคิดต่างจากเทรดเดอร์ทั่วไปเท่านั้น จากนั้นก็บอกทำนองว่าถัดจากยุคการวิเคราห์ทางเทคนิคก็คงเป็นยุคของการวิเคราะห์สภาพจิตใจ

นอกจากการกลัวตายและการพูดในที่ชุมชน การเสียเงินและการรู้ว่าตัวเองผิด คงเป็นความกลัวอันดับต้นๆที่คนทั่วไปกลัว แต่เทรดเดอร์ต้องเจอมันทุกวัน และเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเสร็จก็จะสลัดอารมณ์ได้ไว เรียกได้ว่า การบรรลุถึงภาวะจิตใจของผู้ชนะ

เรารู้ว่าการเทรดแต่ละครั้งเราต้องเสี่ยงดังนั้นเราถูกดึงเข้าไปในระบบที่มีความเสี่ยงเสมอ การคาดเดาหรือคาดการณ์ผลลัพธ์ก็สำหรับคนทั่วไป อาจจะเป็นสิ่งที่เขาหวังแต่เทรดเดอร์ที่ประสบความเร็จเราจะไม่ได้โฟกัสที่ตรงนั้น เพราะเราเข้าใจว่าตลาดจริงๆมัน Random walk ดังนั้นเข้าจะมั่นใจทุกๆครั้งที่เข้าเทรดเพราะรู้ว่ามันผิดพลาดได้ (เพราะรู้ว่าผิดได้จึงไม่กลัวผิด)

สุดท้ายบทแรกคือการอารัมภบทเกี่ยวกับความสำคัญของทัศนคติต่อการเทรด การปรับทัศนคติของเราเล็กน้อยๆเกี่ยวกับการเทรด แล้วก็บอกว่าจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือการช่วยในคนอ่านเปลี่ยนมุมมอง (ทัศนคติ) ต่อการเทรดให้ดีขึ้น

จบ

ชอบความคิดฝรั่งอย่างหนึ่ง คือ เขาพยามจะเข้าใจว่าเขาคิดอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ ส่วนเอเชียคือดูว่าเขาทำไรถึงประสบความเร็จ

แกะความคิดเพื่อเข้าใจสิ่งที่เขาทำฉลาดมาก การทำตามสิ่งที่เขาทำยังไงก็ไม่เหมือนเพราะไม่เข้าใจ แต่ถ้าโชคดีบังเอิญเข้าใจก็สำเร็จได้

ปล. ส่วนใหญ่ที่เจอมานะ

ตลาดวันนี้เปิดดี แต่ยังถือว่าไม่เปลี่ยน zone นะ

PIMO ที่ถือวาเริ่มขึ้นมาเยอะละต้องหาจังหวะขาย .... เลย 2 บาท ต้อง ระวัง

DCC , EA , BRR , MBAX น่าสนใจ

THANI ยังไม่ไปไหน แต่ก็ยังไม่เสียทรง

ตัว true alpha  คือ Pttep ทำตัวน่าสนใจมากขึ้นทุกวัน เข้าเงื่อนไขหมดเลยนะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น